AIR COMPRESSOR

AIR COMPRESSOR  (ปั๊มลม)

     ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดลม ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ระบบนิวเมติกส์ และอุตสาหกรรมครัวเรือน เช่น ร้านซ่อมรถ ซึ่งจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor) เพราะใช้แรงดัน (Pressure) ไม่สูงมาก เป็นต้น ส่วนเครื่องปั๊มลมที่ใช้ในโรงงานนั้นส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor) ซึ่งจะใช้แรงลมที่มากกว่า

     Air Compressor หรือ ปั๊มลม แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

1. PISTON COMPRESSOR (ปั๊มลมแบบลูกสูบ)

2. SCREW COMPRESSOR (ปั๊มลมแบบสกรู)

3. DIAPHARGM COMPRESSOR (ปั๊มลมแบบ ไดอะเฟรม)

4. SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR (ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน)

5. ROOTS COMPRESSOR (ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน)

6. RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR (ปั๊มลมแบบกังหัน)

1. ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor)

     หลักการทำงานปั๊มลมลูกสูบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน ถือเป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุดด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานและราคาที่ไม่สูงมากนักและยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย

 


 

2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR )

     ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือน เดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากัน ทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

 


 

3. ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
     ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานของคล้ายลูกสูบ แต่จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับลูกสูบ ทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปในปั๊มหรือเครื่องอัดลมจะไม่โดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนลมที่ได้ก็จะไม่มีการผสมกับน้ำมันหล่อลื่น จึงมีการนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร

 


 

4. ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
     ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน จุดเด่นของปั๊มลมประเภทนี้คือการที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ ทำให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่ เครื่องปั๊มลมประเภทนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิดปิดในพื้นที่จำกัดทำให้ไวต่อความร้อน สามารถกระจายแรงลมได้ 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อน5าที ความดันของลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์

 


 

5. ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
     ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน ลักษณะของปั๊มลมประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน จะทำให้ลมถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร ทำให้อากาศที่ไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะมีการอัดตัวตอนที่เข้าไปเก็บในถังลม ปั๊มลมประเภทนี้ต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นขณะทำงาน และมีต้นทุนการผลิตที่สูง


 

6. ปั้มลมแบบกังหัน ( RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR )

     ปั้มลมชนิดนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์มีความเร็วสูง จะทำให้ลมถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ปั้มลมแบบ นี้เหมาะกับงานที่ต้องการอัตราไหลของลมสูง คือ สามารถผลิตอัตราการจ่ายลมได้ตั้งแต่ 170 ถึง 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที แต่ความดันไม่สูงมากนัก คือ 4 ถึง 10 บาร์


  • art_42025500.jpg
    หลักการทำงานของ Air Compressor การทำงานของเครื่องอัดอากาศ คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่องถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร...

  • p36-39_03_800x600.jpg
    วิธีการเลือกซื้อ Air Compressor- สำหรับหลักการเลือกซื้อเครื่องอัดลม ประกอบการพิจารณาในการซื้อได้จริงมีดังต่อไปนี้ ชนิดของลมอัด : 1.แบบไร้น้ำมัน (Oil-free)2.แบบมีน้ำมัน (Oil-lubrica...

  • 44517059_721011174926382_8326949939124895744_o.jpg
    การดูแลรักษาปั๊มลมอย่างถูกวิธี ปั๊มลมที่ใช้งานอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีถึงจะได้มีปั๊มลมที่อายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น 1. สายพาน ...

  • p36-39_06_800x450.jpg
    หลักการทำงานของ AIR DRYER AIR DRYERทำหน้าทีให้ลมที่ถูกผลิตมาจากเครื่องอัดอากาศ (AIR COMPRESSOR) น้อยมากที่สุด ซึ่งหลักการทำงานของAIR DRYERเพื่อไม่ให้ลมมีความชื้นติดไปด้วยคือลมที่...

  • 1111.jpg
    Refrigerant Air Dryer เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer)โดยทั่วไปแล้ว dew point อยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส

  • 113020289_3237561839803071_639017344364228125_n.jpg
    หลักการทำงานและไดอะแกรม การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 Towerดังภาพด้านบน Tower I และ II โดย Tower I จะทำลมแห้งก่อน(Adsorption)ส่วน Tower II จะทำการไล่ความชื้นออกจากเม็ดสาร(Purge)โดยใ...

  • p36-39_07_800x450.jpg
    วิธีการเลือกซื้อชุดกรองลม ชุดกรองลม (Main Line Air Filter)จะมีหน้าที่คือ ดักจับฝุ่นละอองและความชื้นที่มากับลมอัดที่ผ่านเข้ามาในชุดกรองลม เมื่อลมไหลผ่านไส้กรองออกมาแล้ว ก็จะเป็นล...

  • scale-1529600882765.png
    วิธีการเลือกซื้อชุดถังพักลมอัด ชุดถังพักลม (Air Storage Tank)มีหน้าที่กักเก็บลมที่ถูกผลิตออกมาจากเครื่องปั๊มลม และถูกปล่อยออกไปใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อาจจะอยู่ในแนวตั้งหรื...
Visitors: 146,157