AIR DRYER

หลักการทำงานของ AIR DRYER

     AIR DRYER ทำหน้าทีให้ลมที่ถูกผลิตมาจากเครื่องอัดอากาศ (AIR COMPRESSOR) น้อยมากที่สุด ซึ่งหลักการทำงานของ AIR DRYER  เพื่อไม่ให้ลมมีความชื้นติดไปด้วยคือลมที่เข้ามาจะถูกแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำยาทำความเย็น ซึ่งจะทำให้ความชื้นที่อยู่ในลมกลั่นตัวออกเป็นน้ำ และถูกระบายทิ้งโดย AIR DRYER ลมที่ผ่านกระบวนการนี้ จะมีสถานะเป็นลมที่แห้ง ออกจาก AIR DRYER (เครื่องทำลมแห้ง) ไปสู่กระบวนการใช้งานของลมต่อไป  

     เครื่องทำลมแห้งทำหน้าที่ลดความชื้นออกจากลมอัด ก่อนส่งไปใช้งาน แบ่งตามการทำงานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  1. แบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer) จุดน้ำค้าง (Dew point) 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส
  2. แบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Desiccant Air Dryer) จุดน้ำค้าง (Dew point) -20 ถึง -70 องศาเซลเซียส

 

วิธีการเลือกซื้อเครื่องทำลมแห้งให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานจริง

     ในการเลือกซื้อเครื่องทำลมแห้ง ต้องให้มีขนาดที่เหมาะสมกับอัตราการผลิตและใช้ลมของแต่ละโรงงาน ซึ่งต้องมีการคำนวณเช่นดียวกับเครื่องปั๊มลม เพราะถ้าเลือกซื้อมาผิดขนาด จะเกิดผลเสียต่อการใช้ลมและค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน

     สมมติว่าเราซื้อเครื่องทำลมแห้งมีขนาดเล็กไป การทำงานของเครื่องจะทำงาน 100 เปอร์เซ็นต์ โดยแทบจะไม่มีเวลาพักเครื่องเลยในขณะทำงาน เพราะต้องลดอุณหภูมิลมลง เพื่อแยกน้ำออกจากลม และจะทำงานเกินขีดความสามารถของเครื่องเอง ลมที่ได้ออกมาจะมีน้ำและความชื้นปนออกมาด้วย จะเกิดผลเสียต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ลมอัด และอายุการใช้งานของเครื่องทำลมแห้งจะสั้น เพราะทำงานตลอดเวลาไม่มีเวลาหยุดพัก การแก้ไขก็โดยการซื้อเครื่องทำลมแห้งเพิ่มที่มีขนาดเท่าเดิม เวลาใช้งานก็เปิดเดินเครื่อง 2 เครื่องพร้อมกัน (ต้องคำนวณดูว่า วิธีนี้ขนาดของเครื่องจะพอเพียงไหม และมีค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร) หรือมีอีกวิธีก็คือซื้อเครื่องทำลมแห้งใหม่ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม สามารถเปิดทำงานเครื่องเดียวได้ เครื่องเดิมก็เก็บสำรองไว้เปิดตอนฉุกเฉิน หรือในอนาคตถ้าโรงงานมีการซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มเติม ก็ซื้อเครื่องเล็กมาเพิ่มให้ทำงานคู่กันไป โดยทางโรงงานจะมีชุดสำรอง(Stand by unit) ไว้ 1 ชุดตลอดเวลา

     ในกรณีที่เราเลือกซื้อเครื่องทำลมแห้งมีขนาดใหญ่เกินไปนิดหน่อย ก็ไม่ค่อยที่จะมีผลเสียมาก จะมีตรงที่ต้องจ่ายค่าเครื่องเพิ่มมากขึ้น และจ่ายค่าใช้ไฟฟ้ามากขึ้นในทุกๆเดือน แต่ถ้าเครื่องมีขนาดใหญ่มากเกินไป ราคาเครื่องก็จะสูงและต้องจ่ายค่าไฟฟ้ามากในแต่ละเดือน ซึ่งในกรณีนี้ลมอัดที่ได้จะมีคุณภาพดีมาก

     วิธีการเลือกซื้อเครื่องทำลมแห้ง เราต้องดูขนาดของเครื่องปั๊มลมก่อน เราได้ขนาดของเครื่องปั๊มลมแล้วคือ 6.4 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที เราใช้วิธีง่ายๆคือให้ขนาดเครื่องทำลมแห้งใหญ่กว่าเครื่องปั๊มลม 20 % ซึ่งหาขนาดเครื่องทำลมแห้งได้ดังนี้

 

     ในที่นี้ เราอย่าตกใจว่าขนาดเครื่องทำลมแห้งใหญ่ขนาดนี้จะกินไฟมากไหม บอกได้เลยว่าเครื่องขนาดนี้จะใช้กำลังขับประมาณ 1 kw.เท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับขนาดของเครื่องปั๊มลม 6.4 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที จะใช้กำลังขับประมาณ 37 kw.

สำหรับเหตุผลที่ต้องเผื่อขนาดเครื่องทำลมแห้งให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าเครื่องปั๊มลม 20% มีเหตุผลตามนี้

1. การทำงานของเครื่องทำลมแห้งจะทำงานคล้ายๆ เครื่องปรับอากาศ ลมที่ผ่านออกมาจากเครื่องปั๊มลม อาจมีอุณหภูมิสูงถึง 65 องศาเซลเซียส ซึ่งลมจะผ่านเข้าเครื่องทำลมแห้ง จะผ่านเข้ามาตลอดเวลา ถ้าขนาดของเครื่องเท่ากัน อาจทำให้เครื่องทำงานโดยไม่มีช่วงพักเพื่อลดอุณหภูมิลมลง อาจทำให้เครื่องทำลมแห้งชำรุดเร็วกว่าปกติ

2. ลมที่ออกจากเครื่องทำลมแห้ง ควรจะมีอุณหภูมิที่ 2-10 องศาเซลเซียส ถ้าเครื่องทำลมแห้งทำงานเต็มกำลังแล้วอุณหภูมิลมยังสูงกว่าค่าที่รับได้นี้ จะทำให้ลมอัดที่ถูกส่งไปใช้งานในเครื่องจักร จะมีความชื้นสูง อาจทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ลมอัดชำรุดเร็วหรือทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเป็นต้น

 

ข้อมูลอ้างอิง
• ตามประสบการณ์จริงของผู้เขียน
• U.P.E.Engineering Co.,Ltd.

เครดิตภาพประกอบ
• https://www.aircompressorsindia.net/air-dryers.html
• https://www.indiamart.com/proddetail/air-receiver-forcement-industry-7381250333.html
• http://itp1.itopfile.com/ImageServer/34370f-9344c48d8d/0/0/iTopPlus363228532217.png
• https://www.nanasupplier.com/picture/product/200/162733.jpg
• https://www.gardnerdenver.com/-/media/images/compair/products/air-treatment-and-accessories/compressedair-drying-main.ashx?h=360&la=zh-CN&w=360

Visitors: 160,638