Refrigerant Air Dryer

Refrigerant Air Dryer 

       เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer) โดยทั่วไปแล้ว dew point อยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส

 

หลักการทำงานและไดอะแกรม 

จากไดอะแกรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของน้ำยาทำความเย็นและส่วนของลมอัด

     วงจรน้ำยา : อุปกรณ์ประกอบสำคัญ 4 อย่างที่ต้องมีคือ คอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ วาล์วลดแรงดันและ อีแวปปอเรเตอร์ เหมือนกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป แต่น้ำเอาคอยเย็นมาลดอุณหภูมิลมแทนการปรับอากาศ เริ่มจากคอมเพรสเซอร์ ดูดน้ำยาทำความเย็นจากคอยเย็นในสถานะไอ(ความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ) อัดออกทางส่งเป็นไอ(ความดันสูงอุณหภูมิสูง) เข้าสู่คอนเดนเซอร์ (Condenser) น้ำยาจะเริ่มเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว(ความดันสูงอุณหภูมิสูง) เมื่ออกจากคอนเดนเซอร์ น้ำยาทั้งหมดจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว 100% จากนั้นจะเข้าไปฉีดลดความดันที่วาล์วลดแรงดัน (Expansion valve) น้ำยาจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไออีกครั้ง ขณะเปลี่ยนสถานะเป็นไอ น้ำยาจะดูดความร้อนรอบข้างเพื่อให้น้ำยากลายเป็นไอทำให้อุณหภูมิลดลง ในช่วงนี้ ลมร้อนที่มีความชื้นผสมอยู่จะแลกเปลี่ยนกับน้ำยาทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำ ผลทำให้ความชื้นที่ผสมอยู่กับลมกลั่นตัวเป็นน้ำ ตกลงด้านล่างของชุดคอยเย็น แล้วระบายออกโดยชุดระบายน้ำอัตโนมัติ

     วงจรลมอัด : ลมอัดหลังจากออกจากเครื่องอัดลม เข้าถังพักลมมาแล้วก็จะเข้าสู่คอยเย็นของเครื่องทำลมแห้ง(Air dryer) แลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำยาทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ ผลทำให้น้ำที่ผสมอยู่กับลมอัดกลั่นตัวออก แล้วระบายออกผ่านทางตัวระบายน้ำอัตโนมัติ จากนั้นลมก็จะส่งออกจากเครื่องทำลมแห้ง สถานะแห้ง แต่ลมนี้ ไม่ได้แห้ง 100% เนื่องจากปกติแล้วจุดน้ำค้าง (Dew point) อยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นอุณหภูมิที่เป็นบวกอยู่ซึ่งไม่ได้ติดลบทำให้ยังมีความชื้นบางส่วนปนไปกับลมได้

     การเลือกขนาดเครื่องทำลมแห้ง (Air dryer selection)
ปัจจัยในการเลือกขนาดเครื่องทำลมแห้งมี 5 ปัจจัยดังนี้
1. อัตราลมอัด (Air delivery)
2. อุณหภูมิน้ำค้าง (Dew point)
3. อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม (Environment temperature)
4. อุณหภูมิลมเข้า (Inlet temperature)
5. ความดันใช้งาน (Working pressure)

     สูตรการเลือกขนาดเครื่องทำลมแห้ง (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่น)

อัตราลมอัดที่ยอมรับได้ =        อัตราลมเข้า    
                                  K1 x K2 x K3 x K4

เมื่อ K1 = เฟคเตอร์ความดันใช้งาน (Working pressure factor)
K2 = เฟคเตอร์อุณหภูมิลมเข้า (Air inlet temperature factor)
K3 = เฟคเตอร์อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม (Environment temperature factor)
K4 = เฟคเตอร์อุณหภูมิน้ำค้าง (Pressure dew point factor)

ตัวอย่างการคำนวณหาขนาดเครื่องทำลมแห้งสำหรับเครื่องอัดลมขนาด 50 แรงม้าแบบโรตารี่สกรู


 ตารางแสดงค่าเฟคเตอร์ใช้ในการคำนวณ

เมื่อ : เครื่องอัดลมขนาด 50 แรงม้า อัตราการผลิตลม 6.5 m3/min., ความดันใช้งาน 7 kg/cm2, อุณหภูมิลมออกจากเครื่องอัดลม 65 องศาเซลเซียส, อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม 38 องศาเซลเซียส, จุดน้ำค้างที่ต้องการ 3 องศาเซลเซียส
จากตารางเฟคเตอร์ด้านบน สามารถคำนวณได้ดังนี้

 อัตราลมอัดที่ยอมรับได้ =    6.5 = 6.91 m3/min. 

                                  1.0 x 1.0 x 0.94 x 1.0

     ดังนั้นถ้าเป็นเครื่องทำลมแห้งรุ่นนี้ ต้องเลือกขนาดเครื่อง Air flow ไม่น้อยกว่า 6.91 m3/min.

 

 

  • S__4177924.jpg
    AIR COMPRESSOR (ปั๊มลม) ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดลม ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงโ...

  • art_42025500.jpg
    หลักการทำงานของ Air Compressor การทำงานของเครื่องอัดอากาศ คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่องถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร...

  • p36-39_03_800x600.jpg
    วิธีการเลือกซื้อ Air Compressor- สำหรับหลักการเลือกซื้อเครื่องอัดลม ประกอบการพิจารณาในการซื้อได้จริงมีดังต่อไปนี้ ชนิดของลมอัด : 1.แบบไร้น้ำมัน (Oil-free)2.แบบมีน้ำมัน (Oil-lubrica...

  • 44517059_721011174926382_8326949939124895744_o.jpg
    การดูแลรักษาปั๊มลมอย่างถูกวิธี ปั๊มลมที่ใช้งานอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีถึงจะได้มีปั๊มลมที่อายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น 1. สายพาน ...

  • p36-39_06_800x450.jpg
    หลักการทำงานของ AIR DRYER AIR DRYERทำหน้าทีให้ลมที่ถูกผลิตมาจากเครื่องอัดอากาศ (AIR COMPRESSOR) น้อยมากที่สุด ซึ่งหลักการทำงานของAIR DRYERเพื่อไม่ให้ลมมีความชื้นติดไปด้วยคือลมที่...

  • 113020289_3237561839803071_639017344364228125_n.jpg
    หลักการทำงานและไดอะแกรม การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 Towerดังภาพด้านบน Tower I และ II โดย Tower I จะทำลมแห้งก่อน(Adsorption)ส่วน Tower II จะทำการไล่ความชื้นออกจากเม็ดสาร(Purge)โดยใ...

  • p36-39_07_800x450.jpg
    วิธีการเลือกซื้อชุดกรองลม ชุดกรองลม (Main Line Air Filter)จะมีหน้าที่คือ ดักจับฝุ่นละอองและความชื้นที่มากับลมอัดที่ผ่านเข้ามาในชุดกรองลม เมื่อลมไหลผ่านไส้กรองออกมาแล้ว ก็จะเป็นล...

  • scale-1529600882765.png
    วิธีการเลือกซื้อชุดถังพักลมอัด ชุดถังพักลม (Air Storage Tank)มีหน้าที่กักเก็บลมที่ถูกผลิตออกมาจากเครื่องปั๊มลม และถูกปล่อยออกไปใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อาจจะอยู่ในแนวตั้งหรื...
Visitors: 160,638