วิธีการเลือกซื้อ Air Compressor

วิธีการเลือกซื้อ Air Compressor 
- สำหรับหลักการเลือกซื้อเครื่องอัดลม ประกอบการพิจารณาในการซื้อได้จริงมีดังต่อไปนี้

 ชนิดของลมอัด :

1.แบบไร้น้ำมัน (Oil-free)
2.แบบมีน้ำมัน (Oil-lubricated หรือ Oil-flood)

ผู้ใช้งานและประเภทของเครื่องอัดลม :

1. อู่ซ่อมรถจักรยาน จักรยานยนต์ อู่ซ่อมรถยนต์นั่ง(เก๋ง) อู่ซ่อมรถกระบะ ชนิดของเครื่องอัดลม คือ เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ความดันใช้งานอยู่ระหว่าง 5-10 บาร์ ขนาดแรงม้า (ขนาดแรงม้าเทียบได้กับปริมาณลมนั่นเอง) ขึ้นอยู่กับอัตราความต้องการลมอัด โดยดูจากปริมาณรถที่เข้ารับบริการ (ปรึกษาผู้ขายเพื่อเลือกขนาดแรงม้า)

2. อู่ซ่อมรถบรรทุก 6 ล้อ อู่ซ่อมรถ 10 ล้อ อู่ซ่อมรถแทรกเตอร์ ชนิดของเครื่องอัดลม คือ เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ความดันใช้งานอยู่ระหว่าง 10-15 บาร์ ขนาดแรงม้า (ขนาดแรงม้าเทียบได้กับปริมาณลมนั่นเอง) ขึ้นอยู่กับอัตราความต้องการลมอัด โดยดูจากปริมาณรถที่เข้ารับบริการ (ปรึกษาผู้ขายเพื่อเลือกขนาดแรงม้า)

3. โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ชนิดของเครื่องอัดลม คือ เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ความดันใช้งานอยู่ระหว่าง 5-10 บาร์ ขนาดแรงม้าขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการลมอัด โดยคำนวณได้จากข้อมูลการใช้ลมของเครื่องจักรแต่ละเครื่องรวมกันแล้วมาเทียบเลือกขนาดแรงม้าเครื่องอัดลม

4. โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ คือ เครื่องอัดลมแบบสกรูและแบบเทอร์โบ ขนาดแรงม้าขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการลมอัด โดยคำนวณได้จากข้อมูลการใช้ลมของเครื่องจักรแต่ละเครื่องรวมกันแล้วมาเทียบเลือกขนาดแรงม้าเครื่องอัดลม
5. กลุ่มอุตสาหกรรมพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมเป่าขวด PET อาจต้องใช้ควบคู่กันทั้งลมอัดที่มีความดันระหว่าง 5-10 บาร์ (ใช้ระบบนิวแมติค) และความดัน 35-40 บาร์ (ใช้เป่าขวด) โดยทั่วไปเครื่องเป่าขวดจะต้องมีลมอัด 2 ความดันนี้ป้อนให้เสมอ


สิ่งที่ต้องรู้เพื่อเลือกขนาดและชนิดของเครื่องอัดลม : Air Compressor
1. ความดันใ้ช้งาน (Working pressure) มีหน่วยเป็น kg/cm2, Psi, Bar, Mpa และอื่นๆ
2. อัตราการใช้ลม (Air flow rate) มีหน่วยเป็น l/min., m3/min., CFM
3. ความสะอาดของลมอัด แบบไร้น้ำมันและแบบมีน้ำมัน โดยทั่วไปแบบออยฟรีจะใช้สำหรับงานเฉพาะอย่างและต้องการลมที่สะอาดมากเท่านั้น เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เวชภัณฑ์ พ่นสี ฯลฯ


ขั้นตอนการเลือกเครื่องอัดลม : Air Compressor
1. รวบรวมความดันใช้งาน (Working pressure) ของเครื่องจักรที่ต้องการใช้ลมอัดแต่ละเครื่องว่าความดันสูงสุด(หน่วยเป็น kg/cm2, Psi, Bar, Mpa) ที่ต้องการ เมื่อรวบรวมได้แล้วให้แยกกลุ่มความดันออกมาเป็นดังนี้
     1.1 ความดันใช้งานอยู่ระหว่าง 0-10 บาร์
     1.2 ความดันใช้งานอยู่ระหว่าง 10-15 บาร์
     1.3 ความดันใช้งานอยู่ระหว่าง 15-20 บาร์
     1.4 ความดันใช้งานตั้งแต่ 20 บาร์ขึ้นไป
     โดยความดันใช้งานในแต่ละช่วงความดันจะเป็นตัวกำหนดชนิดของเครื่องอัดลมเพื่อให้ความดันพอกับการใช้งาน
2. รวบรวมอัตราการใช้ลม (Air flow rate) ของเครื่องจักรที่ต้องการใช้ลมอัดแต่ละเครื่องว่าใช้ลมอัตราในอัตราเครื่องละเท่าไหร่ โดยต้องแบ่งตามความดันในข้อ 1 (หน่วยเป็น l/min., m3/min., CFM)
3. เมื่อได้ค่าตัวเลขตามข้อ 1 และ 2 แล้วเราจะได้ค่าตัวเลขมา 2 ค่า คือ ความดันใช้งานและอัตราการใช้ลม
สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือความดันเพราะความสามารถในการทำความดันของเครื่องอัดลมแต่ละชนิดจะไม่เท่ากันดังนี้
     3.1 เครื่องอัดลมแบบลูก (Reciprocating type) สามารถทำความดันได้ตั้งแต่ 0-60 บาร์
     3.2 เครื่องอัดลมแบบโรตารี่สกรูและเวนโรตารี่ (Screw&Vane rotary type) สามารถทำความดันได้ตั้งแต่ 0-12 บาร์
     3.3 เครื่องอัดลมแบบเทอร์โบ (Centrifugal type) สามารถทำความดันได้ตั้งแต่ 0-12 บาร์

ชนิดเครื่องอัดลมและความสัมพันธ์ของแรงม้า :
     > เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ (Air-cooled) ความดันตั้งแต่ 0-15 บาร์ มีผลิตตั้งแต่ 1/4HP-15HP
     > เครื่องอัดมแบบลูกสูบบูชเตอร์ (Air-cooled) ความดันตั้งแต่ 35-40 บาร์ มีผลิตตั้งแต่ 10HP-30HP
     > เครื่องอัดมแบบลูกสูบความดันสูง (2-3 Stage Water-cooled) ความดันตั้งแต่ 35-40 บาร์ มีผลิตตั้งแต่ 50HP-150HP มีทั้งแบบออยฟรี(Oil-free) และแบบใช้น้ำมันหล่อลื่น(Oil-Flooded)
     > เครื่องอัดลมแบบสกรู (Air&water-cooled) ความดันตั้งแต่ 0-12 บาร์ มีผลิตตั้งแต่ขนาด 20HP-300HP
     > เครื่องอัดลมแบบเทอร์โบ (Water-cooled) ความดันตั้งแต่ 0-12 บาร์ มีผลิตตั้งแต่ 300HP-1000HP


** สรุป : สิ่งสำคัญ 3 ประการในการเลือกเครื่องอัดลมที่ต้องรู้ คือ **
1. ความดัน (Working pressure)
2. อัตราการใช้ลม (Air flow rate)
3. ชนิดลมอัด แบบไร้น้ำมันหรือแบบมีน้ำมัน

     ส่วนปัจจัยประกอบอย่างอื่น เช่น การระบายความร้อนด้วยอากาศ น้ำ หรือขับด้วยระบบไฟฟ้า ขับด้วยเครื่องยนต์ และอื่นๆ นั้นโดยมากแล้วผู้ผลิตเครื่องได้ออกแบบในแต่ละประเภทไว้แล้ว


  • S__4177924.jpg
    AIR COMPRESSOR (ปั๊มลม) ปั๊มลม หรือ เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดลม ทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงโ...

  • art_42025500.jpg
    หลักการทำงานของ Air Compressor การทำงานของเครื่องอัดอากาศ คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่องถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร...

  • 44517059_721011174926382_8326949939124895744_o.jpg
    การดูแลรักษาปั๊มลมอย่างถูกวิธี ปั๊มลมที่ใช้งานอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีถึงจะได้มีปั๊มลมที่อายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น 1. สายพาน ...

  • p36-39_06_800x450.jpg
    หลักการทำงานของ AIR DRYER AIR DRYERทำหน้าทีให้ลมที่ถูกผลิตมาจากเครื่องอัดอากาศ (AIR COMPRESSOR) น้อยมากที่สุด ซึ่งหลักการทำงานของAIR DRYERเพื่อไม่ให้ลมมีความชื้นติดไปด้วยคือลมที่...

  • 1111.jpg
    Refrigerant Air Dryer เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer)โดยทั่วไปแล้ว dew point อยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส

  • 113020289_3237561839803071_639017344364228125_n.jpg
    หลักการทำงานและไดอะแกรม การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 Towerดังภาพด้านบน Tower I และ II โดย Tower I จะทำลมแห้งก่อน(Adsorption)ส่วน Tower II จะทำการไล่ความชื้นออกจากเม็ดสาร(Purge)โดยใ...

  • p36-39_07_800x450.jpg
    วิธีการเลือกซื้อชุดกรองลม ชุดกรองลม (Main Line Air Filter)จะมีหน้าที่คือ ดักจับฝุ่นละอองและความชื้นที่มากับลมอัดที่ผ่านเข้ามาในชุดกรองลม เมื่อลมไหลผ่านไส้กรองออกมาแล้ว ก็จะเป็นล...

  • scale-1529600882765.png
    วิธีการเลือกซื้อชุดถังพักลมอัด ชุดถังพักลม (Air Storage Tank)มีหน้าที่กักเก็บลมที่ถูกผลิตออกมาจากเครื่องปั๊มลม และถูกปล่อยออกไปใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อาจจะอยู่ในแนวตั้งหรื...
Visitors: 146,165